Print This Page

– งานกายภาพบำบัด

แผนก กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด

กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู  โรงพยาบาลจอมทอง

  1. บริบท ( Context )
  2. หน้าที่และเป้าหมาย: ให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดอย่างมีคุณภาพภายใต้มาตรฐานวิชาชีพ
  3. ขอบเขตการให้บริการ:
    1. ให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 –30 น. และงานกายภาพบำบัดได้มีการเปิดบริการนอกเวลา ในวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ เวลา  16.30 – 20.00 น.และในวันเสาร์เวลา 08.00 – 16.00 น. (เฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคหัวใจ, โรคถุงลมโป่งพองที่มีภาวะหอบเหนื่อย, โรคมะเร็ง หรือโรคไตระยะสุดท้าย)
    2. ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชนร่วมกับสหวิชาชีพทีม Home health care
    3. ออกเยี่ยมบ้านผู้พิการและผู้ที่ได้ต้องได้รับการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดในชุมชน
    4. ให้บริการเชิงรุกในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน
    5. ให้บริการเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลจอมทอง
    6. ให้บริการทางกายภาพบัดใน รพ.สต. ร่วมกับสหวิชาชีพ
    7. ให้บริการทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดในคลินิกพิเศษ เช่น คลินิกเบาหวาน, คลินิก COPD, คลินิก Well baby และคลินิกผู้สูงอายุ เป็นต้น
    8. รับผิดชอบงานอาชาบำบัดร่วมกับสหวิชาชีพ
    9. ให้บริการทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดในศูนย์ฟื้นฟูอำเภอจอมทอง
    10. ให้บริการเบิกจ่ายอุปกรณ์ช่วยและอุปกรณ์เสริมต่างๆ
    11. ให้บริการยืม – คืนอุปกรณ์ช่วยและอุปกรณ์เสริมต่างๆ
  4. ความต้องการของผู้รับผลงานสำคัญ:
    1. ต้องการบริการที่รวดเร็วถูกต้องและปลอดภัย
    2. ต้องการหายหรือบรรเทาอาการจากโรค
    3. ต้องการให้เจ้าหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้ม แจ่มใส
    4. ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคและอาการเจ็บป่วยของตนเอง
    5. ต้องการทราบถึงวิธีปฏิบัติตนหรือการดูแลรักษาต่อที่บ้าน
    6. ต้องการได้รับบริการทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดในชุมชน
  5. ความต้องการในการประสานงานภายในที่สำคัญ:
  • ความต้องการของผู้ร่วมสถาบัน
  1. งานศูนย์เปล
    • ต้องการให้ระบุประเภทของพาหนะในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เหมาะสมและถูกต้อง
      1. งานผู้ป่วยใน
    • ต้องการทราบความก้าวหน้าในการรักษาด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยใน
    • ต้องการความพร้อมในการเบิกจ่ายอุปกรณ์ให้กับผู้ป่วย
    • ต้องการการประสานงานส่งต่อผู้ป่วยที่มาทำการรักษาด้านฟื้นฟูสมรรถภาพที่ดี
  1. งานเวชระเบียน
  • ต้องการความถูกต้องครบถ้วนของเวชระเบียนและให้รับ-ส่งคืนเวชระเบียนตามเวลาที่กำหนด ไม่มีการสูญหายของเวชระเบียน
  1. งานสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
  • ต้องการการบันทึกข้อมูลลงระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องครบถ้วน
  1. งานผู้ป่วยนอก
  • ต้องการการประสานงานส่งต่อผู้ป่วยที่มาทำการรักษาด้านฟื้นฟูสมรรถภาพที่รวดเร็ว
  1. งานคลินิกพิเศษ DM, คลินิกCOPD, คลินิกWell babyและคลินิกผู้สูงอายุ
    • ต้องการความร่วมมือและการประสานงานที่ดีในการดูแลผู้ป่วยโดยการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย การสอนออกกำลังกายและการให้สุขศึกษา รวมถึงการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
  2. งานการเงิน
    • ต้องการความถูกต้องในการพิมพ์ค่าบริการต่าง ๆ สิทธิบัตรผู้ป่วยถูกต้องและตรงกับผู้รับบริการรวมถึงต้องการการสื่อสารและประสานงานที่ชัดเจน
  3. งานประกันคุณภาพ
    • ต้องการการส่งต่อผู้ป่วยไปรับคำปรึกษาและรับการช่วยเหลือเรื่องสิทธิบัตรอย่างถูกขั้นตอนทุกคน OPD Card ตรงกับผู้รับบริการรวมถึงต้องการการสื่อสารที่ชัดเจน
  1. งานบริหาร / ธุรการ
    • ต้องการความถูกต้องชัดเจนในการเขียนเบิกของ ส่งงานถ่ายเอกสาร  งานปรุ งานพิมพ์ การส่งรายงานประจำเดือน
    • ต้องการการติดต่อที่ถูกต้องตามขั้นตอนและระเบียบราชการ เช่น การลาต่าง ๆ  การอบรม  เป็นต้น
    • มีการสื่อสารและการประสานงานที่ชัดเจน
  2. งานซ่อมบำรุง
  • ต้องการความถูกต้อง ชัดเจนในการเขียนใบส่งซ่อมบำรุง รวมถึงการประสานงานที่ดี  รวดเร็วชัดเจน
  • ความต้องการของผู้รับบริการภายนอก
  1. ผู้ป่วย
  • ได้รับการต้อนรับที่อบอุ่น ปลอดภัย และมั่นใจในการรักษา รวมถึงได้รับการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
  1. ญาติ
  • ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วย แนวทางการบำบัดรักษาและฟื้นฟู ขั้นตอนการรักษา ผลลัพธ์ของการรักษาได้รับบริการรวดเร็ว ทราบแหล่งรองรับหลังการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

5.   ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ

ให้บริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างมีคุณภาพภายใต้มาตรฐานวิชาชีพ โดยไม่มีผลข้างเคียงจากการบำบัดรักษาและได้รับความพึงพอใจจากการมารับบริการ

6.   ความท้าทาย  ความเสี่ยงที่สำคัญ จุดเน้นในการพัฒนา

      – ความท้าทาย

  1. รับผู้ป่วยส่งต่อจากพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างเต็มศักยภาพ
  2. ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและเกิดความประทับใจในการมารับบริการ
  • ความเสี่ยงที่สำคัญ
  1. อัตราความพึงพอใจ
  2. ระยะเวลารอคอยเฉลี่ย
  3. การลงทะเบียนจำนวนผู้ป่วย
  4. การได้รับการตรวจประเมินและวางแผนการรักษาได้เหมาะสม ครบถ้วน
  5. การหายหรือทุเลาจากอาการเจ็บป่วย
  6. จำนวนครั้งของการเกิดข้อร้องเรียน
  7. อัตราความพึงพอใจของผู้มารับบริการ
  8. ผู้ป่วยเข้าใจถึงการปฏิบัติตัวหรือการรักษาตัวต่อที่บ้าน

      – จุดเน้นในการพัฒนา

  1. ผู้ป่วยได้รับการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดอย่างมีคุณภาพ
  2. ผู้ป่วยที่มารับบริการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด มีความพึงพอใจหลังเข้ามารับบริการ
  3. เผยแพร่ความรู้ทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดแก่บุคลากรทางการแพทย์การศึกษาและบุคคลทั่วไป
  4. ปริมาณงานและทรัพยากร ( คน เทคโนโลยี เครื่องมือ )

      – ปริมาณงาน

ให้บริการผู้ป่วย ผู้มารับบริการรวมถึงกายอุปกรณ์โดยเฉลี่ย 40-45 คน / วัน ประเภทผู้ป่วยที่มารับบริการส่วนใหญ่คือ ผู้ป่วยกลุ่ม Orthopedic, Neurological, Cardiopulmonary และ กลุ่มผู้ป่วย Pediatric

  • ทรัพยากร

มีบุคลากรที่ให้บริการดังนี้

  1. นักกายภาพบำบัด 4  คน
  2. นักกิจกรรมบำบัด 2  คน
  3. ผู้ช่วยเหลือนักกายภาพบำบัด 2  คน